วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมจริยธรรมของครู


วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู



                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 


คุณธรรม จริยธรรม ที่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา

คุณธรรม  จริยธรรม ที่่ควรปลูกฝังแก่นักศึกษา



         คุณธรรมอันดับแรกที่ควรปลูกฝัง  คือ ความกตัญญู  ซึ่งควรจะได้แสดงออกทั้ง ทางกาย   ทางวาจา  และ ทางใจ  เป็นวัฒนธรรมทางจิตใจ ที่แสดงออกมาด้วยความดีงาม  แต่สิ่งเหล่านี้ กำลังถูกทำลาย ด้วย ความ  รีบเร่ง  จากกระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยม  ที่ไม่ได้คำนึงถึงวัฒนธรรมทางจิตใจ  หากคุณธรรมที่มีอยู่ในจิตใจไม่มั่นคง  สิ่งที่แสดงออกมาจากพฤติกรรมของคน ก็ล้วนเป็นสิ่งจอมปลอมทั้งสิ้น การแสดงออกทางกาย วาจา ใจ ที่มีคุณธรรมเป็นที่ตั้งจึงมีส่วนสำคัญในการกล่อมเกลา จิตใจ ให้มีความอ่อนโยน  สุภาพ นอบน้อม  สุขุม  รอบคอบ  เช่น การกราบไหว้พระแบบเบญจางคประดิษฐ์  ซึ่งเป็นการกราบที่แสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อบุคคลที่ควรเคารพนับถือสูงสุด การวางมือ  การยกมือขึ้น เพื่อให้สติอยู่กับมือ พนมมือที่น่าอกในท่าอัญชลี เป็นการสำรวมใจออกจากปัญหา ที่ว้าวุ่น การยกมือจรดบริเวณหว่างคิ้วในท่าวันทา เป็นการสำรวมกาย สำรวมวาจา  สำรวมใจ  กำหนดจิตให้เป็นสมาธิ  มีความแน่วแน่มั่นคงใน จิตใจ การก้มกราบ ท่าอภิวาท  เป็นการปล่อยใจให้ว่างลง สยบยอมทั้งกายและใจให้กับความดี เป็นการลดอัตตา  ความยึดมั่น ถือมั่นในตัวเอง  ซึ่งท่าทีเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสภาพจิตใจให้ดีงาม การปลูกฝังให้นักศึกษารู้จักพึ่งตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นคนดี มีวินัย  คือ  การปลูกฝังให้นักศึกษาได้มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง และ  รู้จักคุณค่าของตัวเอง ไม่มีชนชาติใดในโลกที่มีความเจริญ  งอกงาม มั่นคงอยู่ได้ เพราะการรอรับการช่วยเหลือ ของผู้อื่น โดยไม่พึ่งตนเอง
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน บนพื้นฐาน อุดมการณ์ชีวิต งาน
คือ ชีวิต ชีวิต คืองาน บันดาลสุข  ทำงานให้สนุก  เป็นสุข เมื่อทำงาน
ของดีต้องมีแบบ แบบที่ดี ต้องมีระเบียบ ระเบียบที่ดี ต้องมีวินัย คนที่มีวินัย  คือ ...
-          เคารพตนเอง           -          เคารพผู้อื่น
-          เคารพเวลา             -          เคารพกติกา
-          เคารพสถานที่

ลักษณะจริยธรรม คุณธรรม


ลักษณะจริยธรรม คุณธรรม


คุณธรรมและจริยธรรม คือ สิ่งที่เป็นความดีควรประพฤติปฏิบัติ เพราะจะนำความสุข ความเจริญ ความมั่นคงมาสู่ประเทศชาติ สังคม และบุคคล  คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญ ๆ มีดังต่อไปนี้
1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ประเทศชาติ นับว่ามีพระคุณ อย่างมหาศาล เพราะเป็นสถานที่ ที่เราทุกคนอยู่อาศัยอย่างผาสุกตั้งแต่เกิดจนตาย ให้เรา  ได้ประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิต ให้เราได้ภาคภูมิใจในเกียรติและศักดิ์ศรีที่มีชาติเป็นของตนเอง ไม่เป็นทาสใคร เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อชาติ รักและหวงแหน ยอมสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อให้ชาติเป็นเอกสารสืบไป  ป้องกันไม่ให้ผู้ใดมาทำลาย ปกป้องชื่อเสียงไม่ให้ใครมาดูแคลน และประพฤติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติบ้านเมือง  ศาสนา เป็นที่พึ่งทางกายและทางจิตใจ ทำให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันในสังคมอย่างมีสันติสุข เรามีหน้าที่ทำนุบำรุงพระศาสนาให้มั่นคงสถาพรสืบต่อไป  ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา  สร้างและบูรณะ ศาสนาสถาน ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ  ประพฤติต่อผู้อื่นด้วยความสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ  องค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นศูนย์รวมของชาวไทยทั้งประเทศ พระองค์ทรงเป็นผู้นำและ        ผู้ปกป้องชาติและศาสนา ทรงบำบัดทุกข์และบำรุงสุข ให้แก่ราษฎรด้วยความเสียสละ     ในทุก ๆ ด้าน  เราต้องเทิดทูนพระองค์ไว้สูงสุด รับใช้สนองพระมหากรุณาธิคุณอย่าง         เต็มความสามารถ ประพฤติตนเป็นคนดีไม่เป็นภาระแก่พระองค์ และถ้ามีความจะเป็นแม้ชีวิตของเราเองก็สามารถจะถวายพลีชีพได้ เพื่อความเป็นปึกแผ่น และยั่งยืนของสถาบันพระมหากษัตริย์
2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  หมายถึง การปฏิบัติกิจการงานของตนเอง และที่ได้รับมอบหมายด้วยความมานะพยายาม อุทิศกำลังกาย กำลังใจอย่างเต็มความสามารถ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนงานประสบความสำเร็จตรงตามเวลา บังเกิดผลดีต่อตนเองและส่วนรวม  ทั้งนี้รวมไปถึงการรับผิดเมื่องานล้มเหลว พยายามแก้ไขปัญหาและอุปสรรค  โดยไม่เกี่ยงงอนผู้อื่น
4. ความซื่อสัตย์  หมายถึง การปฏิบัติตน ทางกาย วาจา จิตใจ ที่ตรงไปตรงมา  ไม่แสดงความคดโกงไม่หลอกลวง  ไม่เอาเปรียบผู้อื่น  ลั่นวาจาว่าจะทำงานสิ่งใดก็ต้องทำให้สำเร็จ  เป็นอย่างดี  ไม่กลับกลอก  มีความจริงใจต่อทุกคน  จนเป็นที่ไว้วางใจของคนทุกคน
5. ความเสียสละ  หมายถึง การปฏิบัติตนโดยอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังปัญญา   เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมด้วยความตั้งใจจริง  มีเจตนาที่บริสุทธิ์  คุณธรรมด้านนี้เป็นการสะสมบารมีให้แก่ตนเอง ทำให้มีคนรักใคร่ไว้วางใจ เป็นที่ยกย่องของสังคม ผู้คนเคารพนับถือ
6. ความอดทน  หมายถึง ความเป็นผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคใด ๆ มุ่งมั่นที่จะทำงานให้บังเกิดผลดีโดยไม่ให้ผู้อื่นเดือดร้อน  ความอดทนมี 4 ลักษณะ คือ
- อดทนต่อความยากลำบาก เจ็บป่วย ได้รับทุกขเวทนาก็ไม่แสดงอาการจนเกินกว่าเหตุ
- อดทนต่อการตรากตรำทำงาน ไม่ทอดทิ้งงาน ฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบผลสำเร็จ
- อดทนต่อความเจ็บใจ  ไม่แสดงความโกรธ  ไม่อาฆาตพยาบาท  อดทนต่อคำเสียดสี
- อดทนต่อกิเลส คือ ไม่อยากได้ของผู้อื่นจนเกิดทุกข์ ไม่ตอบโต้คนอื่นที่ทำให้เราโกรธ และไม่ลุ่มหลงในสิ่งที่จะพาเราไปพบกับความเสียหาย
7. การไม่ทำบาป  หมายถึง การงดเว้นพฤติกรรมที่ชั่วร้าย  สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเพราะเป็นเรื่องเศร้าหมองของจิตใจ  ควรงดเว้นพฤติกรรมชั่วร้าย 3 ทาง คือ
- ทางกาย  เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทุจริต ไม่ลักขโมย ไม่ผิดประเวณี
- ทางวาจา  เช่น ไม่โกหก ไม่กล่าวถ้วยคำหยาบคาย ไม่ใส่ร้าย ไม่พูดเพ้อเจ้อ
- ทางใจ  เช่น ไม่คิดเนรคุณ ไม่คิดอาฆาต ไม่คิดอยากได้